อย่าตัดสิน(พิพากษา)คนอื่น?
1“อย่าตัดสิน
มิฉะนั้นท่านเองจะถูกตัดสินด้วย
2เพราะท่านตัดสินผู้อื่นอย่างไร
ท่านจะถูกตัดสินอย่างนั้น...” (มัทธิว 7:1-2 อมธ.)
เพราะฉะนั้น
ถ้าเราไม่อยากให้ใครมาตัดสินเรา เราก็อย่าไปตัดสินคนอื่น
จึงมีหลายท่านที่อ่านพระคัมภีร์ข้อนี้แล้วเข้าใจว่า “ดังนั้น
เราจึงไม่ควรไปพิพากษา หรือ ตัดสินคนอื่น เพื่อคนอื่นจะได้ไม่มาพิพากษา หรือ
ตัดสินเรา” การคิดการเชื่อแบบนี้ไม่จำเป็นต้องเป็นสาวกของพระคริสต์ก็มีวินัยชีวิตแบบนี้ได้
การตีความพระคัมภีร์ข้อนี้แบบนี้ เป็นการตีความพระคัมภีร์ตามใจนึก เป็นการตีความพระคัมภีร์ที่ไม่ใส่ใจถึงบริบทของข้อพระคัมภีร์ตอนนี้
ความเป็นจริงในชีวิตของเราคือ
ทุกวันเราต้องตัดสินเสมอ ตั้งแต่เช้านี้เราจะใส่เสื้อตัวไหนไปทำงาน จนถึงวันนี้จะซื้อกับข้าวอะไรไปกินเป็นอาหารเย็น
ภาษาฮีบรูที่พระเยซูคริสต์ใช้ในคำว่า
“ตัดสิน” คือว่า “krinō”
หมายถึง “การแยก กระจายออก การเลือก...” ดังนั้น เราต้องระวังไม่ไปเข้าใจคำนี้ตามใจนึกคิดของเราเอง
เราต้องใส่ใจว่า คำตรัสของพระเยซูคริสต์นี้ตรัสในบริบทอะไร และจริง ๆ แล้วพระองค์หมายถึงอะไรกันแน่
ที่สำคัญคือเราต้องศึกษาเรื่องราวทั้งเรื่องของคำกล่าวประโยคนี้
ถ้าเราจะเข้าใจคำกล่าวพระคัมภีร์ข้อนี้
(ข้อ 1) เราต้องอ่านตลอดไปจนถึงข้อ
5
“...เหตุใดท่านมองดูผงขี้เลื่อยในตาของพี่น้อง
แต่ไม่ใส่ใจกับไม้ทั้งท่อนในตาของท่านเอง? 4ท่านพูดกับพี่น้องได้อย่างไรว่า
‘ให้เราเขี่ยผงออกจากตาของท่านเถิด’
ในเมื่อตลอดเวลานั้นท่านเองมีไม้ทั้งท่อนอยู่ในตา? 5เจ้าคนหน้าซื่อใจคด จงชักไม้ทั้งท่อนออกจากตาเจ้าเองก่อน
แล้วเจ้าจะเห็นชัดเพื่อจะเขี่ยผงออกจากตาของพี่น้องได้” (ข้อ 3-5)
ในเมื่อเรามีความผิดความบาปที่ใหญ่ยิ่งไปกว่าความบาปผิดของพี่น้องที่เราไปตัดสิน
หรือ ตั้งคำถามการกระทำของเขา เราแน่ใจนะว่าเรามิใช่พวกหน้าซื้อใจคดอย่างฟาริสีที่พระเยซูคริสต์บริภาษ
พระเยซูคริสต์มิได้พูดว่า ไม่ให้ตัดสิน แต่ก่อนอื่นใดต้องพิจารณาตนเองก่อนว่า ไม้ทั้งท่อนในตาแห่งชีวิตของเราเอาออกมาแล้วหรือยัง
เพื่อเราจะสามารถมองเห็นได้ชัดเจน แล้วค่อยไปช่วยเอาผงแห่งความบาปผิดออกจากตาแห่งชีวิตของพี่น้องคนอื่น
พระเยซูคริสต์มิได้สอนว่า
ไม่ให้ตัดสิน หรือ พิพากษา แต่พระเยซูคริสต์ทรงสอนใน ยอห์น 7:24 ว่า “24จงเลิกตัดสินตามที่เห็นเพียงภายนอก
แต่จงตัดสินให้ถูกต้องตามความเป็นจริง”
ประสิทธิ์ แซ่ตั้ง
บ้านแม่แก้ดน้อย
สันทราย เชียงใหม่
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น