ปัจจุบัน คริสต์ศตวรรษที่ 21
ต่างพุ่งความสนใจถึงทักษะความสามารถของชนรุ่นใหม่ที่จำเป็นจะต้องมีในสนามการทำงานว่าควรมีคุณลักษณะอะไรบ้าง
ความรู้หลักที่ได้จากระบบการศึกษาทั้งในระดับโรงเรียนและในระดับอุดมศึกษาที่เน้นความสำคัญในวิชา
4 หมวด
(วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์) เพียงพอหรือไม่?
แคทธี เอ็น. เดวิดสัน
ผู้ก่อตั้งสถาบันอนาคตศึกษา และ อาจารย์สอนในระดับปริญญาเอก เธอกล่าวว่า
“นักศึกษาอเมริกันทั้งประเทศกำลังกังวลว่าเมื่อเขาจบการศึกษาแล้ว
“ฉันจะต้องเป็นคนแบบไหน?”
ในขณะที่อุดมศึกษามุ่งเน้นสนใจใน 4 หมวด
และพ่อแม่ก็คาดหวังว่าจบแล้วจะต้องได้งานทำ
แต่จากวิจัยของแคทธีกลับพบว่าคนที่จะประสบความสำเร็จในสนามงานยุคนี้ ออกมาดูแตกต่างจากความรู้ทักษะที่มหาวิทยาลัยให้มา
และจากผลของการวิจัยนี้ทำให้กูเกิลแสวงหาคนทำงานรุ่นใหม่ที่มีคุณลักษณะและทักษะหลักดังนี้
7 ทักษะหลักที่กูเกิลต้องการจากผู้สำเร็จจากการศึกษาในปัจจุบัน
ทั้งหมดนี้ทำให้เกิดคำถามว่า
อะไรที่เป็นทักษะที่มีคุณค่าและจำเป็นที่กูเกิลกำลังมองหาในคนที่มาสมัครงาน? ทั้ง ๆ ที่กูเกิลเป็นบริษัทที่มีเนื้องานเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
แต่ดูเขาไม่ได้ให้น้ำหนักสำคัญกับด้านวิทยาศาสตร์ด้านคอมพิวเตอร์เป็นหลักเป็นลำดับต้น
ๆ แต่เขาแสวงหาคนทำงานรุ่นใหม่ที่มีคุณลักษณะและทักษะดังนี้
1)
เป็นโค้ชที่ดีของเพื่อนร่วมงาน
2)
มีทักษะในการสื่อสารและการฟังที่ดีมีประสิทธิภาพ
3)
มีข้อมูลเชิงลึก
ในการรับรู้ทางสังคม
4)
เป็นคนที่เห็นอกเห็นใจและสนับสนุนเพื่อนร่วมงาน
5)
มีความคิดเชิงวิเคราะห์
6)
มีทักษะในการรับมือและการจัดการกับปัญหาที่เกิดขึ้น
7)
เชื่อมโยงความคิดที่สลับซับซ้อนให้เข้ากันอย่างเป็นระบบ
ทั้งสิ้นนี้เป็นคุณลักษณะของผู้ที่จบการศึกษาในยุคนี้ ดูไปแล้วเป็นเรื่องคุณลักษณะที่มีการเรียนรู้และวุฒิภาวะทางอารมณ์สังคม
ซึ่งเกือบทั้งหมดดังกล่าวไปขึ้นอยู่กับเรื่องความฉลาดทางอารมณ์ และ จิตวิญญาณ หาใช่ความรู้และทักษะที่สอน
ๆ กันในโรงเรียนและอุดมศึกษาในปัจจุบัน
คำถามคือ โรงเรียนของเรา มหาวิทยาลัยของเรา พระคริสต์ธรรมของเรา ได้บ่มเพาะเสริมสร้าง
และ ฝึกฝนให้นักเรียนนักศึกษาของเรามีคุณลักษณะและทักษะทั้ง 7
ประการข้างต้นหรือไม่? ถ้าไม่แล้วใครล่ะที่จะช่วยพัฒนาบ่มเพาะคุณลักษณะและทักษะทั้ง
7 ในนักเรียนนักศึกษาที่จะเป็นแรงงานและผู้นำรุ่นใหม่ในปัจจุบัน?
ประสิทธิ์ แซ่ตั้ง
บ้านแม่แก้ดน้อย สันทราย เชียงใหม่
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น