ผู้นำที่ยิ่งใหญ่ย่อมรู้ค่าราคาของความไว้วางใจที่เขาได้รับ
และเขาทำทุกวิถีทางที่จะปกป้องรักษามันไว้
การสูญเสียที่สำคัญยิ่งใหญ่สำหรับผู้นำคือ
เมื่อเขาสูญเสียความนิยมยอมรับและความไว้วางใจจากผู้คนที่เขานำ เป็นการยากลำบากอย่างยิ่งที่ผู้นำคนนั้นจะเรียกความไว้วางใจ
หรือ ความเชื่อมั่นคืนมาใหม่
ขอตั้งข้อสังเกตว่า
ยิ่งเป็นผู้นำยาวนานแค่ไหน
เป็นการง่ายที่ผู้นำคนนั้นจะสูญเสียความไว้เนื้อเชื่อใจจากคนที่เขานำมากขึ้นแค่นั้น ยิ่งในยุคปัจจุบัน สำหรับผมแล้วดูเหมือนว่า
ผู้คนมีความสงสัยในตัวผู้นำมากยิ่งกว่ายุคสมัยที่ผ่านมา
แล้วอะไรล่ะ
ที่เป็นสาเหตุให้ผู้นำสูญเสียความไว้วางใจจากคนที่เขานำ คงมีหลายสาเหตุด้วยกัน ขอกล่าวถึง 9
สาเหตุที่ผู้นำสูญเสียความไว้วางใจจากคนที่เขานำ
1. ทำงานแบบลวก
ๆ:
บางครั้งเมื่องานประดังทับถมจนล้นมือที่จะรับไว้ หรือ
บางครั้งเกิดความเบื่อหน่ายในงานที่ทำ
มีแนวโน้มที่เราจะทำแบบลวก ๆ หรือ ทำให้เสร็จ เราละเลย ไม่ใส่ใจ หรือ
ไม่ระมัดระวังหลักการในการเป็นผู้นำที่ดีที่เรารู้ เราทำผิดพลาดมากกว่าปกติ คนอื่นรอบข้างมองว่า
เราไม่สนใจในงานที่กำลังทำ
คนรอบข้างเริ่มสงสัยในตัวเรา
ประเด็นท้าทาย:
ลดความรีบเร่ง เร่งด่วนในการทำงานลง แบ่งความรับผิดชอบในงานที่ทำ ขอให้เพื่อนร่วมงานช่วยตรวจสอบความถูกต้อง
2. ใช้อำนาจเผด็จการผ่านอีเมล์:
ในยุคความทันสมัยที่สื่อสารด้วยระบบดิจิตอล โดยเฉพาะในการใช้อีเมล์ อีเมล์มักสร้างความเข้าใจผิดได้บ่อย มักสร้างความเข้าใจที่สับสน บางครั้งถูกใช้เป็นเครื่องมือในการตอบสวนกลับ
แก้เผ็ด ทำให้เกิดความกลัว
การกระทำแบบนี้เป็นภาวะผู้นำที่ไม่เป็นกันเองกับผู้ที่เราสื่อสาร เมื่อผู้นำเลี่ยงการสื่อสารแบบปรึกษาสนทนาต่อกัน ซึ่งเป็นการจัดการงานแบบสัมพันธ์ตรง เมื่อนั้นผู้นำเริ่มสูญเสียความชื่นชอบยอมรับ
แล้วนำไปสู่ความสูญเสียความไว้วางใจจากเพื่อนร่วมงาน
ประเด็นท้าทาย:
ในเรื่องที่มีสาระสำคัญ
และมีเรื่องความถูกต้องชัดเจนเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย บางครั้ง
เราจำเป็นที่จะต้องยกหูโทรศัพท์ปรึกษา หรือ นัดหมายเวลาที่จะพบปะพูดคุยกัน
3. ผู้นำหายตัว...ไม่รู้ไปอยู่ไหน
เมื่อผู้นำมีงานความรับผิดชอบมากมาย และบางครั้งต้องการที่จะแยกหรือเก็บตัวเพื่อสามารถจัดการกับงานรับผิดชอบนั้นให้สำเร็จลุล่วง ถ้าผู้นำไม่ระมัดระวัง แทนที่จะเลี่ยงออกไปทำงานให้เสร็จ เพื่อที่จะได้งาน แต่ผู้นำกลับถูกมองว่า “หายตัวไปไหนไม่รู้”
ทำให้คนรอบข้างเข้าใจได้ว่า
ผู้นำคนนี้ไม่สนใจในงานที่เขาต้องรับผิดชอบ เป็นผู้นำที่ไม่ทุ่มเท มีความอ่อนแอในการนำในสายตาของทีมงาน
ประเด็นท้าทาย:
แสดงตารางเวลาการทำงานของตนให้ทีมงานสามารถรับรู้ชัดเจน เป็นช่องทางให้สามารถสื่อสารกับทีมงานสม่ำเสมอ
4. พูดเอาใจทีมงาน
ทุกคนต้องการคนชอบและชื่นชมตน ถ้าผู้นำไม่ระมัดระวัง แล้วไปพูดชื่นชมในสิ่งที่ทีมงานต้องการได้ยิน ทั้ง ๆ สิ่งนั้นไม่ถูกต้อง
การพูดชื่นชอบทีมงานแบบนี้ทำให้เราสูญเสียความไว้วางใจจากคนในทีมงานที่พยายามทำในสิ่งที่ถูกต้อง
ประเด็นท้าทาย:
เป็นคนที่จริงใจ โปร่งใส
พูดเรื่องต่าง ๆ ด้วยความรัก
และไม่พยายามสื่อสารในสาระที่มีความหมายแอบแฝงซ่อนเร้น จริงก็ว่าจริง ไม่ก็ว่าไม่
5. ผู้นำแบบ
“รู้แล้ว...รู้แล้ว”
ผู้นำสูญเสียความชื่นชอบและไว้วางใจเมื่อผู้นำตัดสินใจเองทุกเรื่อง ทั้งนี้ผู้นำทึกทักเอาว่าตนเองรู้ทุกอย่าง ตนเองมีคำตอบสำหรับทุกเรื่องแล้ว ไม่จำเป็นต้องถามต้องปรึกษาคนในทีมงาน ไม่มีอะไรที่ตนต้องเรียนรู้ เพราะเขามั่นใจว่าตน “รู้แล้ว” ทุกเรื่อง เพื่อนร่วมงานในทีมจะรู้สึกด้อยค่า และเขายังรู้สึกว่า
เขาไม่ได้อยู่และทำงานเพื่อความคาดหวังของคนอื่น
แต่เขาเองมีค่าและมีความคาดหวังในที่ทำงานด้วย ผู้คนในทีมจะมองว่า ผู้นำคนนี้หยิ่งผยอง
ประเด็นท้าทาย:
บางครั้งเราในฐานะผู้นำเราอาจจะไม่มีคำตอบในเรื่องนั้นอย่างแท้จริง นี่เป็นความจริงที่เป็นธรรมดามิใช่หรือ จำเป็นด้วยหรือที่ผู้นำจะต้องรู้ไปเสียทุกเรื่อง
เมื่อเรายังไม่รู้และไม่มีคำตอบให้เราเงียบและฟังจะดีไหม
โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเรื่องนั้นมิใช่เรื่องคอขาดบาดตายต่อองค์กร เปิดโอกาสให้คนในทีมได้ช่วยกันให้คำตอบ ให้ทีมงานได้แสดงศักยภาพ ความรู้
และแสดงออกถึงภาวะผู้นำทางความคิด แต่มิใช่ให้คนใดคนหนึ่งพูดอยู่คนเดียว
6. เหยียดคุณค่างานของคนอื่นให้ด้อยลง
ในฐานะผู้นำองค์กร บางครั้งเรามีความคิด “ภาพใหญ่”
ขององค์กร
จนบางครั้งเราลืมที่จะให้ความสนใจถึงความคิดดี ๆ ของเพื่อนร่วมงานที่เสนอขึ้นมา ผู้นำล้มเหลวที่จะเรียนรู้ รับรู้
และชื่นชมในความคิดที่มีคุณค่าของผู้ร่วมทีมงานคนนั้นและความสำเร็จของเขา
ประเด็นท้าทาย:
โปรดระมัดระวัง จงเป็นผู้นำที่มีความรู้สึกไวที่จะเห็นและได้ยินถึงความคิดที่มีคุณค่าและความสำเร็จของผู้ร่วมงานในทีม พร้อมทั้งแสดงความยินดีชื่นชมในสิ่งดี ๆ ของแต่ละคนในทีมที่ทำให้เกิดความสำเร็จแก่ทีมงาน
7. อ่อนด้อยความกล้าหาญ
เราไม่สามารถเป็นผู้นำโดยไม่กล้าที่จะเสี่ยง เมื่อผู้นำขาดความกล้าหาญ ผู้ร่วมทีมย่อมต้องมุ่งมองหาใครคนอื่นบางคนที่จะนำพวกเขาไปให้ถึงที่
ๆ เขายังไม่รู้จัก
ประเด็นท้าทาย:
จงยืนมั่นบนความเชื่อศรัทธาของท่าน
และก้าวเดินไปข้างหน้าด้วยเชื่อมั่นว่า
พระเจ้าทรงอยู่ข้างหน้าเราและกำลังกระทำพระราชกิจเพื่อให้เกิดสิ่งดียิ่งแก่ทีมงานของเรา
8.
บุคลิกที่ลื่นไหล พลิกพลิ้ว
การที่ใครคนใดคนหนึ่งจะเป็นผู้นำได้ คน ๆ นั้นจะต้องได้รับความไว้วางใจจากทีมงาน และต้องเป็นความไว้วางใจแบบไม่สั่นคลอน
หวั่นไหว หรือ โอนเอน และชื่อเสียงของผู้นำเป็นสิ่ง “บอบบาง” (แตกหักง่าย) คนรอบข้างมักประเมินผู้นำคนนั้น ที่ความเข้มแข็งทางใจและคุณธรรมของผู้นำ เช่น
ความสัตย์ซื่อและเป็นคนที่มีคุณธรรมย่อมเป็นคุณลักษณะสำคัญเหนือบุคลิกภาพอื่น
ๆ และตำแหน่งที่เขามีอยู่ในเวลานั้น
การที่ผู้นำเป็นผู้ที่มีความสัตย์ซื่อและคุณธรรมเป็นตัวตัดสินว่าผู้นำคนนั้นจะได้รับการยอมรับ
ชื่นชอบ และความไว้วางใจจากทีมงานหรือไม่
ประเด็นท้าทาย: “จงระแวดระวังใจของเจ้ายิ่งกว่าสิ่งอื่นใด เพราะทุกสิ่งที่เจ้าทำออกมาจากใจ”
(สุภาษิต 4:23 มตฐ.) ให้ผู้นำทำสิ่งที่ถูกต้อง สิ่งที่ดี และ
มีวินัยชีวิตที่จะหลีกเลี่ยงอำนาจแห่งการทดลองชีวิตในลักษณะต่าง ๆ
9. หยิ่งยโส อหังการ
ไม่มีสิ่งใดที่จะทำให้ผู้นำต้องสูญเสียการยอมรับ และ
ไว้วางใจอย่างรวดเร็วเท่ากับ การเป็นผู้นำที่หยิ่งยโส อหังการ คุยโตโอ้อวด (ขี้คุย) ถ้าทีมงานใดมีผู้นำแบบนี้ ลูกทีมมักไม่พูดอะไรมาก แต่ปล่อยให้ผู้นำคนนั้นชื่นชมความเก่งกาจของตนไปคนเดียว
ประเด็นท้าทาย: ผู้นำจะต้องถ่อม
และถ้าผู้นำคนใดไม่รู้ว่าตนจะถ่อมได้อย่างไร
ทูลถามพระเจ้าและทูลขอพระองค์ช่วยให้ท่านเป็นคนที่ถ่อมลง พระเจ้าช่วยท่านได้
และนี่น่าจะเป็นทางออกสำหรับผู้นำที่ทุกครั้งต้องการที่จะเป็นผู้นำที่ถ่อม
ไม่มีผู้นำคนใดที่ต้องการสูญเสียการยอมรับ ชื่นชอบ
และการไว้วางใจจากทีมงานของตน
ผู้นำที่ยิ่งใหญ่ย่อมรู้ซึ้งในความสำคัญยิ่งของ “ความไว้วางใจ”
ที่ทีมงานให้กับตน และ ทุ่มเททำงานหนักเพื่อบรรลุความสำเร็จ
เรียบเรียงจาก
ข้อเขียนของ Ron Edmondson, Churchleader.com
ประสิทธิ์ แซ่ตั้ง
บ้านแม่แก้ดน้อย สันทราย เชียงใหม่
E-mail: prasit.barnabus@gmail.com
081-2894499
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น