เมื่อ
2-3
ปีที่ผ่าน ผมได้รู้จักองค์กรหนึ่งเป็นอย่างดี เป็นที่รู้กันในองค์กรนั้นว่า ลัดดา(นามสมมติ) เป็น นักการเงินการบัญชีตัวยงหาตัวเปรียบยาก
แต่เธอกลับอ่อนด้อยในทักษะด้านความสัมพันธ์กับผู้คน
และในเวลาเดียวกันก็ไม่เห็นทางที่เธอจะได้รับการเลื่อนขั้นหน้าที่ตำแหน่งการงานในระดับที่สูงขึ้นได้
หลายคนที่ไต่เต้าถึงตำแหน่งระดับหนึ่งจากความสามารถทักษะเฉพาะด้านที่เขามีอยู่อย่างเยี่ยมยอด แต่เพราะขาดการพัฒนาทักษะความสัมพันธ์กับคนทำงานในทีม ทำให้ทำงานร่วมกับคนอื่นด้วยความยากลำบาก
ทั้งนี้อาจจะเป็นเพราะเธอมีท่าทีที่ไม่สนใจความรู้สึกของทีมงาน เธอทำงานแบบ “หัวสี่เหลี่ยม”
ตามหลักการความรู้และกรอบงานที่เธอรับผิดชอบเป็นมาตรฐานในการทำงานทุกด้าน และ
ในความสัมพันธ์กับผู้คน
เธอจะเรียกร้องให้ทุกคนต้องเตรียมหลักฐานเอกสารครบถ้วนตามหลักการของเธอ
เธอดูเหมือนว่าไม่เคยฟังคนอื่นอย่างตั้งใจและใส่ใจ เธอขาดความอดกลั้น ไม่อดทน
ไม่ผ่อนปรน ซึ่งรวมถึงในวิธีการทำงานด้วย
ท่านมีเพื่อนร่วมงานในลักษณะนี้ไหม? หรือท่านอาจจะมีลักษณะอย่างลัดดาก็ได้นะ?
คนทำงานที่อ่อนด้อยทักษะการสัมพันธ์กับผู้คนมักจะต้องพบกับความขัดแย้งที่ไม่น่าจะเกิดขึ้น และนี่สร้างความอ่อนล้าระอาใจ และ
ความเครียดสำหรับทุกคนที่เกี่ยวข้อง
และยังสามารถที่จะทำลายให้แผนงานที่วางไว้อย่างดีต้องเสียหาย ล้มเหลวได้
เป็นที่แน่ชัดว่า เราท่านอาจจะมั่นใจว่า เราสามารถพัฒนาเทคนิค ทักษะ การทำงานใหม่ ๆ และ
เสริมเพิ่มความรู้ผ่านการฝึกอบรมและประสบการณ์งาน แต่ในเวลาเดียวกัน
ความจริงประการหนึ่งคือ
“คุณเป็นอย่างที่คุณเป็น”
ในด้านเกี่ยวกับทักษะความสัมพันธ์กับผู้คน แล้วเราจะทำอย่างไรในเรื่องนี้ล่ะ?
จริงยิ่งกว่าจริง
จุดเริ่มพัฒนาทักษะความสัมพันธ์กับผู้คนที่น่าจะดีที่สุดคือ การพัฒนาความสามารถที่จะ “ความเข้าอกเข้าใจ”
คนอื่น
การเข้าอกเข้าใจนั้นเป็นอย่างไร?
การเข้าอกเข้าใจคือ การที่เรารู้จักเท่าทันถึงอารมณ์ความรู้สึกของคนอื่น และสามารถที่จะ “เอาใจเขามาใส่ใจเรา” กล่าวคือเข้าใจถึงมุมมองของคนอื่น บริบท หรือสถานการณ์จริงในชีวิตที่เขากำลังเผชิญอยู่
การที่เราจะมีความเข้าอกเข้าใจคนอื่น แน่นอนครับ เราต้องคิดมากกว่าที่คิดถึงตนเอง
และ คิดแต่สิ่งที่เราสนใจเท่านั้น
เมื่อเราสามารถที่จะมองกว้างและไกลกว่า “โลกของตนเอง” เราก็จะพบความจริงว่า
ยังมีความจริงของโลกที่มากกว่า กว้างกว่า ซับซ้อนกว่าโลกของเราเอง
แล้วเราอาจจะทึ่งว่าเขาจะจัดการอย่างไรกับสิ่งเหล่านั้นในชีวิตของเขา
คนที่ถูกตีตรากล่าวหาว่า เป็นคนที่สนใจแต่ตนเอง เป็นคนเห็นแก่ตัว
มักเป็นคนที่ขาดมุมมองที่เป็นภาพใหญ่ของชีวิตและเหตุการณ์ของผู้คนที่ตนเข้าไปเกี่ยวข้องด้วย เขามองและใส่ใจที่ตนเองเท่านั้น ทั้ง ๆ ที่เขาจะต้องมีชีวิตและปฏิสัมพันธ์กับผู้คนรอบข้างที่แตกต่างจากเขามากมายหลายคน
ถ้าเราถูกเรียก
ถูกตั้งฉายา หรือ ถูกกล่าวถึงว่าเป็นคนที่มีลักษณะอย่างที่กล่าวข้างต้น อาจจะเป็นโอกาสที่เราจะต้องเตือนตนเองว่า เรายังต้องอยู่และทำงานกับผู้คนมากมาย และเราไม่สามารถที่จะหลบลี้หนีซ่อนจากผลกระทบที่มาจากคนเหล่านั้นที่มีต่อตัวเราเองแน่
และมากยิ่งกว่าเพียงการยอมรับความจริงสิ่งเหล่านี้เท่านั้น แต่เรายังต้องเสริมสร้างสัมพันธภาพ และ
เข้าอกเข้าใจคนล้อมรอบที่เราต้องมีปฏิสัมพันธ์
แทนที่จะยืนหยัดบนจุดยืนของตนแต่เพียงคนเดียว
ใช้ความเข้าอกเข้าใจคนอื่นอย่างมีประสิทธิภาพ
การเริ่มใช้ความเข้าอกเข้าใจอย่างมีประสิทธิภาพสูง ให้เราพิจารณาประเด็นต่อไปนี้
1.
“ละแล้ววาง” มุมมองทัศนคติของท่านเองลงก่อน
แล้วพยายามมองสิ่งต่าง ๆ จากมุมมอง แง่มุม หรือ ทัศนคติของคนอื่นบ้าง
ถ้าเราทำเช่นนี้ เราจะรู้และสำนึกว่า
คนอื่นไม่ได้เป็นคนเลวร้าย ไม่ดี งี่เง่า
หรือ เป็นคนที่ไร้เหตุผล
สิ่งที่เกิดขึ้นนั้นเป็นเพียงปฏิกิริยาที่เขาตอบโต้ต่อสถานการณ์นั้น ๆ ตามข้อมูล
ความรู้ และสถานการณ์ที่เขารับรู้เท่านั้น
2.
เห็นความมีเหตุมีผลในมุมมอง หรือ การรับรู้ของคนอื่น
เมื่อเรา
“เข้าอกเข้าใจ” ถึงความเชื่อของคนอื่นว่า ทำไมเขาถึงเชื่อถึงคิดเช่นนั้น ทำให้เรารับรู้ เรายอมรับ ในที่นี้เราต้องชัดเจนว่า “การรับรู้และการยอมรับ” ไม่ได้หมายความว่า “เราเห็นด้วย”
เราสามารถยอมรับความเห็นต่างของเพื่อนร่วมงานคนนั้นว่าแตกต่างจากความคิดเห็นของเรา และเขาคงมีเหตุผลที่ดีที่เขามีความคิดความเห็นเช่นนั้น
3.
ตรวจสอบ รู้เท่าทันทัศนะมุมมองของตนเอง
เรายังต้องการดำเนินไปตามเส้นทางความเข้าใจของตนเอง เรายังต้องการเป็นฝ่ายชนะ หรือ เรายังต้องการเป็นผู้ที่ถูกต้องหรือไม่? หรือ สิ่งสำคัญประการแรก เราต้องการทางออก เสริมสร้างความสัมพันธ์ และการยอมรับคนอื่นใช่ไหม? ถ้าเราไม่ยอมเปิดจิตใจ ความคิด และมุมองทัศนคติของเรา
เราอาจจะไม่มีพื้นที่ว่างในชีวิต/อารมณ์/ความรู้สึก พอสำหรับการเข้าอกเข้าใจคนอื่น
4.
ฟังอย่างใส่ใจ
ตั้งใจฟังถึงเนื้อหา/เรื่องราว/ความรู้สึก
ที่คนรอบข้างพยายามจะสื่อสารกับเรา
© ฟังด้วยหู: เขาคนนั้นกำลังพูดอะไรนะ? ด้วยน้ำเสียงแบบไหน?
© ฟังด้วยตา: เขาคนนั้นกำลังมีท่าที หรือ
ทำอะไรในขณะที่กำลังพูด?
© ฟังด้วยสัญชาตญาณ: เรารู้สึกหรือไม่ว่า
เขาคนนั้นกำลังสื่อสารในสิ่งที่เป็นสาระหรือเรื่องที่สำคัญหรือไม่?
© ฟังด้วยใจ: เราคิดว่าคน ๆ อื่นกำลังรู้สึกอย่างไร?
5.
ถามถึงสิ่งที่คน ๆ นั้นจะทำ
เมื่อยังสงสัย
ให้เราขอเขาอธิบายถึงหลักคิดจุดยืนของเขาในเรื่องนั้น วิธีนี้อาจจะเป็นวิธีธรรมดา และ
ตรงไปตรงมาที่สุดที่จะช่วยให้เราเข้าอกเข้าใจคนอื่น แต่กลับเป็นวิธีการที่จะพัฒนาความเข้าอกเข้าใจได้น้อยที่สุด ดังนั้น
การถาม หรือ ขอเขาช่วยอธิบายเป็นช่องทางหนึ่งที่จะช่วยให้เราเข้าใจเพื่อนร่วมทีมคนนั้นได้อย่างดี
อาจจะเป็นการดีถ้าเราจะถามถึงสิ่งที่คนนั้นต้องการ แต่เราจะไม่ได้คำตอบหรือคำอธิบายที่มากกว่าคำตอบถึงสิ่งที่เขาต้องการ เราจะไม่ได้ข้อมูลที่จะนำมาพิจารณาไตร่ตรอง แต่การถามถึงความคิด ความรู้สึกของเขาในความต้องการ หรือ
ความกังวลในเรื่องดังกล่าวด้วยจะช่วยให้เรามีข้อมูลที่จะใช้ไตร่ตรองถึงความต้องการด้วยความลึกซึ้งมากยิ่งขึ้น
ตัวอย่างเช่น หัวหน้าคนหนึ่งเอาคูปองแลกไก่ย่าง 5
ดาวแจกให้กับลูกน้องในทีม
สำหรับวันขึ้นปีใหม่ เพราะหัวหน้ารู้ว่าทีมงานหนุ่มสาวของเขาไม่ได้ทำอาหารรับประทานเอง
นี่เป็นความคิดของหัวหน้าว่าเป็นการให้ของขวัญปีใหม่ที่จะเป็นประโยชน์และเข้าท่าที่สุด... แต่นี่ไม่ใช่ความคิดของลูกน้อง
(แต่ถ้าต้องการรู้ความคิดลูกน้องเขาต้องถาม)
การที่เราใช้ทักษะที่มีปฏิสัมพันธ์บ่อย
ๆ หรือเป็นประจำกับคนอื่น เราจะค่อย ๆ สร้างความใส่ใจต่อผู้อื่นให้เกิดขึ้นในตัวเรามากขึ้น และสามารถเข้าถึงคนอื่นได้ดียิ่งขึ้น
ทั้งนี้เพราะเราเสริมเพิ่มความสนใจของเราในคนอื่นว่า เขาคนนั้นมีความรู้สึก
และมีประสบการณ์ชีวิตเช่นไรบ้าง
นี่เป็นของขวัญอันล้ำค่าที่เราเต็มใจและตั้งใจที่จะมองโลกจากมุมมองที่หลากหลายของผู้คนต่าง
ๆ ที่เราเกี่ยวข้องด้วย
และเป็นของขวัญชีวิตที่เราสามารถใช้ในทุกเวลา และ ในทุกสถานการณ์
ประเด็นที่น่าสนใจในการสนทนาอย่างเข้าอกเข้าใจ
© มิเพียงสนใจแต่เรื่องที่เขาพูด แต่ให้ใส่ใจในท่าทาง (ภาษากาย) และ
สิ่งที่อยู่ในใจ ในสิ่งที่สื่อสาร หรือ ในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
© ฟังอย่างใส่ด้วยความระมัดระวัง และบันทึกสิ่งที่เป็นคำ หรือ
ประโยคสำคัญที่เขาพูด
© กระตุ้นให้สนทนาในประเด็นหลัก/สำคัญของการสนทนาในครั้งนั้น
© ให้เรายืดหยุ่น เตรีมพร้อมที่อาจจะต้องเปลี่ยนไปตามแนวทาง/ทิศทางในการสนทนาตามความคิดและความรู้สึกของผู้ที่เราสนทนาด้วย
©
แสวงหาโอกาสที่จะไปสู่เป้าหมาย
หลักคิด
การพัฒนาความเข้าอกเข้าใจ
เป็นความพยายามที่สำคัญยิ่งในการที่เราจะพัฒนาทักษะความสัมพันธ์กับผู้คน เมื่อเราเข้าอกเข้าใจคนอื่น
ก็เป็นโอกาสที่คนอื่นต้องการที่จะเข้าใจในตัวเรา และนี่คือจุดที่เราสามารถเริ่มต้นสร้างความร่วมไม้ร่วมมือ
และ การทำงานอย่างเป็นทีมที่เหนียวแน่นขึ้น
เรียบเรียงจาก MindTools.com
ประสิทธิ์ แซ่ตั้ง
บ้านแม่แก้ดน้อย สันทราย เชียงใหม่
E-mail: prasit.barnabus@gmail.com
081-2894499
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น