ระวัง “นโยบายคือตัวบ่อนทำลาย”
ภาวะผู้นำในองค์กร และ ในคริสตจักร!
โปรดอย่ามองว่าผมเป็นพวกต่อต้านการบริหารอย่างมีหลักการที่นิยมกันในปัจจุบัน บ่อยครั้งที่นักบริหาร “ข้างบน” ต้องคิดกำหนดนโยบายเพื่อให้งานต่าง ๆ เดินไปตามกรอบและแนวทางที่ตนเห็นว่าดีและต้องการ แต่ก็ต้องบอกความจริงว่า
ผมเองไม่ได้ให้ความสำคัญกับเรื่องนโยบายขององค์กร เพราะในอีกด้านหนึ่งของการใช้นโยบายได้สร้างผลเสียมากมายต่อผู้คนทำงานในองค์กร
หรือ ในคริสตจักรของเรา
เพราะนโยบายเป็นตัวบ่อนทำลายโอกาสที่ผู้นำระดับต่าง ๆ ในองค์กรและคริสตจักรจะเจริญเติบโตขึ้นในภาวะผู้นำของเขาแต่ละคน
1.
นโยบายทำลายรากของความรับผิดชอบในภาวะผู้นำ/ผู้คนระดับต่าง ๆ
ภาวะผู้นำที่มีความกล้าหาญในการตัดสินใจ
แน่นอนครับเขาต้องพบกับความเสี่ยง แต่ก็มีผู้นำจำนวนมากที่ทำการนำและบริหารองค์กร
“ตามนโยบาย” โดยเอา “จิตสำนึก”
ของความถูกต้อง ควรกระทำหรือไม่ “ไปซ่อนไว้ใต้พรม” แล้วยอมทำตาม “นโยบาย” เพราะคิดว่าตนจะได้ทำงานอย่างปลอดภัย เพราะถ้าเกิดความผิดพลาดจะมิใช่เพราะ
“เราในฐานะผู้นำ” แต่เป็นเพราะนโยบายที่ผิดพลาดต่างหาก ทำให้ผู้นำเหล่านี้ “ติดนิสัย”
ทำตัวว่ารับผิดชอบแต่หลบหลีกที่จะมีความรับผิดชอบที่แท้จริง
เพราะเมื่อสิ่งเสียหายเกิดขึ้นผู้นำคนนั้นก็จะโยนกลองว่า ตนทำตามนโยบายแล้ว
แต่เป็นเพราะความผิดพลาดในการกำหนดนโยบายต่างหากที่ทำให้เกิดความเสียหาย
ในแง่มุมนี้ “นโยบาย”
คือตัวบ่อนทำลายสำนึกความรับผิดชอบของบรรดาผู้นำระดับต่าง ๆ ในองค์กร
นอกจากที่จะขาดโอกาสในการพัฒนาความเข้มแข็งในภาวะผู้นำของคนเหล่านี้แล้ว
นโยบายกลับกลายเป็นโอกาสที่บิดเบือนความรับผิดชอบของผู้นำกลุ่มนี้ กลายเป็นผู้นำที่ “เอาตัวรอด” ผู้นำไม่ต้องคิดมากแค่ทำแผน “ตอบสนองนโยบาย”
ก็จะได้งบมาใช้
ยิ่งกว่านั้นยังสร้างภาพลักษณ์ว่า
ผู้นำคนนั้นตอบสนองผู้นำระดับสูงขององค์กร
แต่ผลการดำเนินงานจะเป็นอย่างไรไม่ค่อยใส่ใจกัน แต่ใส่ใจว่าทำตามนโยบายหรือไม่?
2. นโยบาย “ตัวดูด” (ขโมย)
ความกล้าหาญออกจากผู้นำ
การที่ทำอะไรต่อมิอะไรตาม “นโยบาย”
ไม่ต้องใช้จริยธรรมความกล้าหาญ (ยกเว้นว่า ยอมทำตามทั้ง ๆ ที่รู้อยู่เต็มอกว่านโยบายนี้เป็นผลประโยชน์ของผู้นำนักการเมืองกลุ่มนั้น
ๆ ที่ขึ้นมาบริการองค์กร
แต่ก็ยังทำเพราะจะทำให้ตนอาจจะสามารถก้าวสู่ผู้นำระดับสูง หรือ
เป็นที่เอ็นดูของผู้นำที่เป็นนักการเมืองในองค์กร?)
เราต้องไม่ลืมว่า
การที่ผู้นำจะต้องคิดและตัดสินใจในการทำงานในภาวะที่ทุกข์ยากลำบากนั้นเป็นโอกาสในการเสริมสร้างความเข้มแข็งและจริยธรรมความกล้าหาญแก่คน
ๆ นั้น และก็เป็นโอกาสที่คน ๆ นั้นจะเรียนรู้ว่าจะทำงานในภาวะวิกฤติลำบากให้ประสบความสำเร็จที่แท้จริงได้อย่างไร
แต่การนำแบบทำตามนโยบายนั้นเปิดช่องให้เกิด
“การดูดดึง” หรือ “ขโมย” โอกาสในการเสริมสร้างคน ๆ นั้นให้เป็นผู้มีภาวะผู้นำที่เข้มแข็งขึ้น
นอกจากทำให้เกิดอาการของทำงานแบบเอาตัวรอดปลอดภัยแล้ว ยังหล่อหลอมจิตวิญญาณที่ทำงานคลุกในมุมสบายและปลอดภัย
ทำให้เกิดการสะสมจิตวิญญาณที่อ่อนแอลงในความกล้าหาญ ทั้งนี้เพราะคนทำงานในองค์กรของเราเขาทำงาน
“ตามนโยบาย”
แทนที่จะพัฒนาสำนึกและสัญชาตญาณที่กล้าหาญ
3. นโยบายสอนและบ่มเพาะคนทำงานในองค์กรไม่ต้องคิด
การที่บอกให้คนในองค์กรให้ทำตามนโยบายก็ไม่ต่างอะไรกับกำลังบอกคนทำงานในองค์กรว่า
“ไม่ต้องคิดมาก” ทำตามนโยบาย เพราะมีคนคิดอย่างดีมาแล้ว
(คนหยิบมือคิดให้คนทั้งองค์กรทำ
คนแค่หยิบมือคิดให้คนส่วนใหญ่ทำเพื่อประโยชน์ของคนจำนวนน้อยนิด?) แน่นอนครับ
ทำงานอย่างไม่ต้องคิดใคร่ครวญก็ทำให้ไม่ได้คิดอย่างใส่ใจ นอกจากที่มันทำให้คนทำงานไม่ต้องคิดแล้ว แต่กลับมีอิทธิพลครอบงำให้คิดว่าไม่ต้องคิด! เพื่อที่จะมีคนทำงาน
(ลูกน้องที่ทำงาน) ไม่คิดต่อต้าน?
นอกจากสูญเสียโอกาสที่จะเสริมสร้างความเข้มแข็งเติบโตในภาวะผู้นำ แต่กลับเป็นการสร้างให้องค์กรมีคนทำงานกลายเป็นคน
“ไม่คิด” แล้วนำไปสู่คนทำงานที่
“สิ้นคิด”
(ยกเว้นเรื่องความปลอดภัยในการทำงาน กับ ประโยชน์ของตนที่จะได้!)
นโยบายที่ไม่ทำลายภาวะผู้นำของคนในองค์กร
แต่สิ่งที่ต้องคำนึงและพิจารณาด้วยเช่นกันว่า องค์กรจำเป็นที่ต้องมี “นโยบาย” แต่นโยบายไม่ใช่ตัวกำหนดว่า คนทำงานในองค์กรต้องทำตามนี้
แต่ต้องสร้างวัฒนธรรมให้กับคนทำงานในองค์กรว่า ทุกคนต้องช่วยกันตรวจสอบและสะท้อนคิดว่า
นโยบายที่กำหนดขึ้นนี้ช่วยให้การทำงานของตนนำไปให้ถึงเป้าหมายปลายทาง และ
นิมิตหมาย
วิสัยทัศน์ขององค์กรหรือไม่ และพร้อมที่จะฟังและรับข้อเสนอปรับเปลี่ยนจากคนทำงานในองค์กร แต่อย่าใช้ “นโยบาย”
เพื่อตรวจวัดความจงรักภักดีของคนทำงานในองค์ต่อผู้นำระดับสูงขึ้นไป เพราะนั่นเป็นการบริหารของพวกเผด็จการเขาทำกันมาในอดีต และรังแต่ให้เกิดผลร้ายผลเสียแก่องค์กรครับ
ประสิทธิ์ แซ่ตั้ง
บ้านแม่แก้ดน้อย สันทราย เชียงใหม่
E-mail: prasit.barnabus@gmail.com
081-2894499
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น