ผู้นำที่คิดว่าตนเองรู้แล้ว!(ทุกเรื่อง)
จากประสบการณ์ในชีวิตที่ผ่านมาหลายสิบปีพบว่า
มีผู้นำกลุ่มหนึ่งที่คิดว่าตนมีคำตอบสำหรับคำถามทั้งหมด เป็นผู้นำที่บอกว่า “ตนเองรู้แล้ว” แต่ในเวลาเดียวกันก็ได้พบกับผู้นำที่ตระหนักรู้เสมอว่า ตนไม่รู้เสียทุกเรื่องไป ลักษณะเด่นของผู้นำกลุ่มหลังนี้ที่พบมามักเป็นผู้ที่ถ่อม สุภาพ
เป็นคนที่คนอื่นยกย่องเป็นผู้รู้แต่ยังใฝ่รู้อยู่เสมอ เขาเป็นคนที่ฟังแล้วฟังอีก ถามแล้วถามอีก เป็นผู้ที่ยืดหยุ่นต่อการเปลี่ยนแปลง แต่สำหรับผู้นำที่คิดว่าตนบรรลุแล้ว สำเร็จถึงหลักชัยแล้ว ลักษณะพิเศษของผู้นำที่กล่าวข้างต้นจะสูญหายจากผู้นำที่คิดว่าตนถึงหลักชัยแล้ว
ตนชนะแล้ว ตนรู้แล้ว
แต่ลักษณะเฉพาะของผู้นำกลุ่มหลังนี้มักเป็นผู้นำที่ “ติดหล่ม”
การที่ผู้นำคิดว่า
ตนมีคำตอบสำหรับทุกเรื่อง
ตนเป็นคนที่รู้แล้ว
ก็เป็นผู้นำพวกเดียวกับผู้นำที่ “ติดหล่ม” เพราะผู้นำประเภทนี้จะวนเวียนจมปลักอยู่ใน
“โคลนตมความคิดเดิม ๆ ของตนเอง”
และเมื่อไปถึงจุดหนึ่งความคิดที่มีอยู่กลับใช้การไม่ได้ จะพลิกหลุดจากโคลนตมไม่ได้เพราะตนหยุดการแสวงหาการเรียนรู้มานานแล้ว
ตารางข้างล่างเป็นการเปรียบเทียบความแตกต่างชัดเจนระหว่าง
“ผู้นำที่ติดหล่ม” กับ “ผู้นำที่ใฝ่รู้เสมอ”
ผู้นำที่ติดหล่ม
|
ผู้นำที่ใฝ่รู้เสมอ
|
เป็นผู้นำที่คิดว่าตนต้องมีคำตอบสำหรับทุกเรื่องทุกคำถาม
|
เป็นผู้นำที่รู้ว่าแหล่งที่เขาจะหาความรู้
และ จะเรียนรู้ได้จากที่ไหน และ จากใคร
|
รายล้อมด้วยทีมงานที่มีแต่ตอบสนอง
“เจ้านาย” ในเชิงเห็นด้วยหรือชื่นชอบเอาใจเจ้านาย ทีมงานประเภท “ครับท่าน” “เอาอย่างที่ท่านว่า”
|
แวดล้อมด้วยทีมงานลงมือจัดการกับเรื่องต่าง
ๆ บนฐานของความเป็นจริง และ พร้อมที่ที่จะรับมือกับความยากลำบาก
|
เป็นผู้นำที่ตัดสินใจในรายละเอียดทุกเรื่อง
เป็นผลให้เรื่องต่าง ๆ ก้าวไปข้างหน้าอย่างเชื่องช้า
|
เป็นผู้นำที่หนุนเสริมให้ทีมงานในการตัดสินใจ
เป็นผลให้เรื่องต่าง ๆ ก้าวไปข้างหน้ารวดเร็ว
|
เป็นผู้นำที่ทำตัวเป็น
“พี่ใหญ่” ที่รู้อยู่แต่คนเดียว ทีมลูกน้องต้องทำอย่างตนทำ
|
เป็นผู้นำที่พร้อมและมีใจที่จะเรียนรู้จากคนอื่น
ๆ แม้คนนั้นจะเป็นลูกน้องของตนก็ตาม
|
เป็นผู้นำการประชุมแบบ
“สั่งการ”
โดยไม่เปิดช่องให้ถามถึงผลที่จะเกิดขึ้น
|
เป็นผู้นำที่เปิดรับความคิดใหม่
ๆ และพร้อมที่จะให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ปรับแก้
|
เป็นผู้นำที่แสดงตนว่า
“ฉันรู้แล้ว” เสียทุกเรื่องไป
|
เป็นผู้นำที่แสดงว่าตนกำลังเดินเข้าสู่
“พรมแดนใหม่” ในการทำงานต้องการเรียนรู้ในเรื่องต่าง ๆ เรียนรู้เสมอ
|
เป็นผู้นำที่หมดไฟกระตุ้นให้เติบโต
|
เป็นผู้นำที่เรียนรู้เร็ว
และ เติบโตขึ้นเสมอ
|
เป็นผู้นี่อยู่ห่างไกลจากหน่วยปฏิบัติการ
|
เป็นผู้นำที่สนใจในหน่วยปฏิบัติการ
ถาม และ หาทางที่หนุนเนื่องรับใช้หน่วยปฏิบัติการขับเคลื่อน
|
เป็นผู้นำที่มักสร้างความสลับซับซ้อน
|
เป็นผู้นำที่ทำสิ่งต่างๆให้ดูเรียบง่าย
เป็นธรรมชาติ
|
เป็นผู้นำติดยึดอยู่กับวิธีการที่สะดวกสบายของเมื่อวันวาน
|
เป็นผู้นำที่แสวงหาแนวทาง
หรือ หลักการใหม่ ๆ
|
เป็นผู้นำที่เลือกที่จะอยู่ในมุมสะดวกสบายรู้สึกมั่นคง
|
เป็นผู้นำที่เลือกการกล้าเสี่ยง
|
เป็นผู้นำที่ทำตัวให้ดูมีงานยุ่งอยู่เสมอ
|
เป็นผู้นำที่มีใจจดจ่อต่องานที่ทำและรับผิดชอบ
|
อ่านแล้วก็พอจะประเมินตนเองว่าเป็นผู้นำแบบไหนไหมครับ?
หรือ ประเมินได้ว่าเราเป็นลูกน้องที่มีเจ้านายแบบไหนใช่ไหมครับ? แต่ข่าวดีคือ ถ้าเราเป็นผู้นำ
เราสามารถเปลี่ยนแปลงลักษณะการเป็นผู้นำไปเป็นอย่างแบบที่เราพึงประสงค์ได้ครับ แต่ถ้าเป็นลูกน้องที่เป็นเจ้านายติดหล่มละก็ต้องทำงานชาญฉลาดมากขึ้นครับ
คือต้องเป็นลูกน้อง/ผู้นำแถวกลาง แล้วทำหน้าที่นำหัวหน้าของตนเองด้วยถ่อม สุภาพ
สุขุม ด้วยปัญญา อย่างนิ่มนวลครับ ที่ฝรั่งเรียกว่า
LEAD Your Boss ไงครับ!
ประสิทธิ์ แซ่ตั้ง
บ้านแม่แก้ดน้อย สันทราย เชียงใหม่
E-mail: prasit.barnabus@gmail.com
081-2894499
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น