ปัจจุบัน เราสามารถพบเห็นนักพูด
นักวาทศิลป์ นักเทศน์ มากมาย แต่ละเลยการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ ที่เข้าถึงจิตใจของผู้รับสารหรือผู้ฟัง หรือ ที่ตอบโจทย์ชีวิตของผู้ฟัง
“ข้าเคยได้ยินเรื่องอย่างนี้มามากแล้ว
ท่านทุกคนเป็นผู้ปลอบโยนที่ทำให้ยิ่งทุกข์ใจ...”
(โยบ 6:2
มตฐ.)
ข้าเคยได้ยินเรื่องอย่างนี้มามากแล้ว
ท่านทุกคนเป็นผู้ปลอบโยนที่น่าสังเวช (โยบ 6:2 สมช.***)
สำหรับเพื่อนทั้งสามของโยบ พวกเขาให้แต่ความคิดเห็น แต่ที่น่าสังเวชคือเป็นความคิดเห็นที่ผิด ๆ เป็นการแสดงออกถึงภาวะผู้นำที่อ่อนด้อย เขาเป็นผู้นำที่ไม่สามารถสื่อข่าวสารที่ถูกต้องถึงผู้ฟัง ทั้งนี้เพราะ
1.
เพราะเขาไม่มีข้อมูล
ความจริงของคนที่เขาสื่อสารด้วย (ในที่นี้หมายถึงโยบ)
2.
เขาไม่มีภาวะผู้นำที่เข้าถึงหัวอกหัวใจ ความนึกคิด ความรู้สึกของคนที่ตนสื่อสารด้วย
ผู้นำจำนวนมากกระทำผิดพลาดในลักษณะข้างต้น เขามักชอบแสดงความคิดความเห็น แต่กลับมองข้ามและไม่ใส่ใจข้อมูลความจริงที่สำคัญ แล้วก็ไม่ได้เข้าอกเข้าใจถึงจิตใจของผู้ที่ฟังความคิดเห็นของเขา โยบเรียกสหายทั้งสามของท่านว่า “ผู้ปลอบโยนที่น่าสังเวช”
นักสื่อสารที่ดีทุกคนจะแสวงหาความเข้าอกเข้าใจคนที่เขาสื่อสารด้วย ก่อนที่คนเหล่านั้นจะเข้าใจเขา
น่าสังเกตว่าผู้สื่อสารที่ดีแตกต่างจากนักพูดในที่สาธารณะ ดังนี้
นักพูดสาธารณะ
|
นักสื่อสาร
|
1)
แสวงหาทางให้คนฟังที่จะเข้าใจและชอบตนเอง
|
1) แสวงหาความเข้าใจ
และ เข้าถึงจิตใจคนอื่น
|
2) มักถามว่า “ฉันมีอะไร” จะพูด
|
2)
มักถามว่า“ผู้ที่เขาสื่อสารด้วยจำเป็นต้องการอะไร”
|
3)
มุ่งเน้นให้ความสำคัญที่เทคนิคการพูด
|
3) มุ่งเน้นให้ความสำคัญกับบรรยากาศในการสื่อสาร
|
4) เอาตนเองเป็นศูนย์กลาง
|
4)
เอาผู้ฟังเป็นศูนย์กลาง
|
5) มุ่งที่จะพูดหรือบรรยายให้จบ/สำเร็จ
|
5) มุ่งเสริมสร้าง หรือ ให้เกิดการเปลี่ยนแปลง
|
6) ให้ความสำคัญในเนื้อหาที่บรรยาย/พูด
|
6) เน้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในชีวิตผู้คน
|
ทุกวันนี้เราเป็นนักพูดฝีปากคมกริบ หรือ
เป็นนักสื่อสารที่นำการเปลี่ยนแปลงมาสู่ชีวิตผู้คนและชุมชนครับ?
ประสิทธิ์ แซ่ตั้ง
บ้านแม่แก้ดน้อย สันทราย เชียงใหม่
E-mail: prasit.barnabus@gmail.com
081-2894499
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น